ฮักแพง: Isan Pop Spectacular กับจักรวาลลูกทุ่งอีสาน
- ฮักแพง หนังโดยธีรเดช สพันอยู่ นำแสดงโดยกลุ่มนักร้องลูกทุ่งรุ่นใหม่ชื่อดัง หนังทำตัวเป็นมิวสิกวิดิโอขนาดยาวที่บันทึกยุคสมัย และเล่นกับประวัติศาสตร์อีสานป๊อปได้อย่างน่าสนใจ โดยความฮิตของวัฒนธรรมนี้เอง เป็นผลมาจากรากอันยาวนานของเพลงลูกทุ่งอีสาน
- กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของลูกทุ่งอีสาน จากยุคที่ลูกทุ่งร่วมสมัยผสมเข้ากับหมอลำ ก่อนจะขยายขอบเขตเมื่อเจอกับดนตรีฮาร์ดร็อคจากผับของพวกทหารจีไอ ไปจนถึงยุคของแกรมมี่โกลด์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
- เพลงไทบ้านปัจจุบัน ไม่ได้พูดถึงแรงงานอพยพอีกแล้ว มันพูดถึงวัยรุ่นหนุ่มสาวในหมู่บ้าน ที่เรียนในพื้นที่และเข้ามหาวิทยาลัยในพื้นที่ ในที่สุดพวกเขาก็สร้างวัฒนธรรมของตัวเองขึ้นมาแยกออกจากวัฒนธรรมของคนรุ่นก่อนหน้า
- ตัวละครในเรื่องคือตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่ร้องเพลงป๊อปภาษาอีสาน ไม่ใช่นักร้องหมอลำอีกต่อไป เราจึงไม่ต้องเห็นการประนีประนอมกับแนวคิดกลับไปสู่รากเหล้าแบบที่รัฐไทยชอบทำ แต่ถึงอย่างนั้นวิธีการของหนังก็ยังมีบางจุดที่…
- คุณทองแดง : การ์ตูนไทยที่ภาพสวยเล่าเรื่องราวได้ดี ความน่ารักของน้องหมา
-
ความคืบหน้าล่าสุด Avatar ภาค 2 – 5 : เผยชื่ออย่างไม่เป็นทางการ เตรียมฉายปี 2020 – 2025
ศร เป็นพระเอกหมอลำ ส่วน โต้น และ แสบ เป็นหนุ่มชาวนา คนแรกเพิ่งพ่ายรักเมื่อแฟนหันไปควงลูกชายนายห้าง คนที่สองและสามหมายปองสาวคนเดียวกัน นั่นคือ พิม ลูกสาวผู้ใหญ่บ้าน แต่หลังจากที่ศรโดนกระทืบจนขึ้นลำไม่ได้ โต้นจึงเข้ามาเป็นสมาชิกคณะหมอลำคนใหม่แทน ทำให้ มุก ลูกสาวเจ้าของคณะหมอลำแอบชอบโต้นโดยไม่มีใครรู้สิ่งที่ทั้งสามหนุ่มมีเหมือนกันคือพวกเขาทำเพลงของตัวเองลงยูทูบ ถ่ายทำด้วยโทรศัพท์มือถือ จัดฉากตัดต่อและเผยแพร่กันเองจากในหมู่บ้าน เพลงมีอิทธิพลกับพวกเขาถึงขนาดที่แม้แต่จะดวลกันแย่งสาว ยังต้องดวลกันเป็นเพลงหมอลำ
ขณะที่พิมต้องถูกจัดแจงให้แต่งงานกับลูกชายนายห้างค่ายเทป (ก็ไอ้คนเดียวกับที่แย่งแฟนศรนั่นแหละ) นั่นทำให้แสบเสียใจจนแทบเป็นบ้า (ร้องเพลงคำแพง) ในขณะที่โต้นซึ่งอกหัก ก็ปฏิเสธรักจากมุก (ร้องเพลง อ้ายมีเหตุผล) ก่อนจะรู้ว่าคนที่น่ารักคือคนที่รักเขาไม่ใช่คนที่เขารัก
มันก็คือเรื่องวัยรุ่นวุ่นรักของหนุ่มสาวในหมู่บ้าน ที่เป็นหมู่บ้านกลางๆ ลอยๆ ไม่ได้เชื่อมต่ออันใดกับโลกภายนอก นอกจากอินเตอร์เน็ตในฐานะพื้นที่แห่งโอกาสชนิดใหม่ของคนหนุ่มสาว โดยมีตัวร้ายเป็นนายทุนค่ายเพลงหน้าเลือดที่ทั้งเป็นศัตรูหัวใจ และเป็นศัตรูทางสังคมเมื่อพยายามจะกินรวบนักร้องเกิดใหม่โดยอ้างความเป็นค่ายเพลงแล้วกดค่าแรง
เอาจริงๆ มันคือหนังตีหัวเข้าบ้านที่อาศัยความโด่งดังของนักร้องหน้าใหม่ในแถบถิ่นอีสาน เพื่อให้ขายได้ หนังทำตัวเป็นเหมือนมิวสิกวีดีโอขนาดยาว ผูกสถานการณ์เล่าเรื่องเพียงเพื่อจะนำมาถึงซีนร้องเพลง ซึ่งยาว เต็ม มาทั้งเพลง และบางครั้งก็ไม่รู้ว่ามาได้อย่างไรจนน่าจัดฉายรอบ sing along มากกว่าอื่นใดทั้งหมด
กระนั้นก็ตาม ไม่ว่าโดยตั้งใจหรือไม่ หนังก็ได้กลายเป็นบันทึกยุคสมัยของวงการดนตรีลูกทุ่งอีสาน ที่ความเปลี่ยนแปลงอาจไม่สามารถระงับการล่มสลายของระบบนิเวศดนตรีแบบเก่า รวมถึงการมาถึงของสนามใหม่ๆ สำหรับคนทำเพลงอีสาน ซึ่งนั่นทำให้มันเป็นมิวสิควีดีโอขนาดยาวที่ล้อเล่นกับประวัติศาสตร์ของตัวเองได้อย่างน่าสนใจยิ่ง
ข้อความหนึ่งจากหนังสือ Luk Thung The Culture and Politics of Thailand’s Most Popular Music โดย James Leonard Mitchell กล่าวว่า “หนึ่งในข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนที่สุดว่าอัตลักษณ์ของอีสานอยู่ในเพลงลูกทุ่งนั้นก็อยู่ในเนื้อเพลง ‘คนบ้านเดียวกัน’ ของไผ่ พงศธร (2009) ที่เขียนโดย วสุ ห้าวหาญ ซึ่งส่งให้เขากลายเป็นนักร้องลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงสูงสุดในเวลาอันรวดเร็ว”
โดยในบรรดาวัฒนธรรมสาธารณ์ สิ่งที่ไวต่อความเปลี่ยนแปลงที่สุดไม่ใช่ภาพยนตร์หรือวรรณกรรม หากคือดนตรี ปรากฏการณ์ฮิตของวัฒนธรรมป๊อปอีสานนั้นไม่ใช่เพียงการระเบิดออกของคนอย่างก้อง ห้วยไร่ เบิ้ล ปทุมราช หรือ แซค ชุมแพ หรือการไปไกลขึ้นเรื่อยๆ ของรุ่นใหญ่อย่างเพชร สหรัตน์ พวกเขาไม่ใช่สิ่งเกิดใหม่ แต่เป็นผลสืบเนื่องของลูกทุ่งอีสานที่มีมายาวนานมันจึงทำให้ข้อถกเถียงที่หนังพูดถึงอนาคตอ่อนด้อยลง เพราะอนาคตในหนังไม่ใช่อนาคตของความป็นไปได้ แต่เป็นอนาคตในการนอนฝันแบบมิวสิควีดีโอขนาดยาว รอเวลาที่จะได้ร้องตามเพลงป๊อปรักคุดที่คุ้นเคย พวกเขาอาจจะดังแค่เพลงสองเพลงแล้ววูบหาย พวกเขาอาจจะกลายเป็นนักร้องของอีกค่ายหนึ่ง แล้วก็เป็นเช่นสิ่งที่พวกเขาปฏิเสธ ไม่มีใครรู้ แต่โลกข้างนอกไม่เปลี่ยนแปลงไปถ้าเราอยู่แต่ในความฝัน